วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวัตกรรมท้องถิ่น ปลาส้มจังหวัดพะเยา


ประวัติความเป็นมา
ปลาส้มเป็นอาหารพื้นเมืองเหนือโบราณ ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพะเยาทำมาจากเนื้อปลา
 นำมาหมักกับเกลือ ข้าว กระเทียม โดยไม่ใส่สารกันบูด สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลาย
ชนิด เช่น ยำ ทอด ย่าง สามารถรับประทานได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ พะเยาจะขึ้นชื่อในเรื่องปลา
ส้มอร่อย และนิยมนำมาเป็นของฝากจากจังหวัดพะเยา ให้แก่นักท่องเที่ยวที่แวะมาเยือนจังหวัดพะเยา...
"ปลาส้ม " เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนา  คุณศรีทนเล่าว่า ได้รับการสืบทอดมรดกการทำปลาส้มจากบรรพบุรุษปู่ ย่า ตายาย และบิดารมารดา ซึ่งเดิมที่คุณพ่อคุณแม่ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันเวียงใหม่ ซึ่งอยู่ติดกับกว๊านพะเยา ซึ่งกว๊านพะเยานั้นเป็นบ่อเกิดแห่งวิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีของชาวเมืองพะเยา ชาวบ้านนอกจากจะมีอาชีพเกษตรกรรมแล้ว ยังมีอาชีพประมงพื้นบ้าน หากิน หาปู หาปลาดำรงชีพมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เมื่อชาวบ้านหาปลามาแล้วก็มีวิธีการถนอมอาหารให้เก็บไว้กินได้นาน ๆ จึงเกิดภูมิปัญญาชาวบ้านในการแปรรูปอาหารจากปลาต่าง ๆ เช่น ย่าง หมัก ตากแดด ปลาร้า ปลาเจ่า ฯลฯ รวมทั้งการนำมาทำ "ปลาส้ม " จนเป็นสินค้าที่ลือชื่อของฝากจากจังหวัดพะเยาในปัจจุบัน....
ชาวชนบท เรียบง่าย อยู่อย่างพอเพียงในท่ามกลางกระแสของการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจุบัน  ความเจริญทางด้านวัตถุ และความเติบโตของเศรษฐกิจพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว  ทำให้วิถีชีวิตของชาวชนบทได้รับการกระทบกระเทือนไปทุกหย่อมหญ้า  ชาวบ้านต้องพึ่งพาภายนอกมาขึ้น ทำให้เกิดปัญหาชุมชนอ่อนแอ และหนี้สินพอกพูนทวีขึ้นเรื่อย ๆ ...แต่ที่บ้านสันเวียงใหม่ หมู่ที่ 4 ต.บ้านสาง  อ.เมือง จ.พะเยา มิได้วิ่งตามกระแสความเจริญดังกล่าว  ที่นี่ชาวบ้านยังดำเนินชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย และพอเพียงตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ประวัติคอมพิวเตอร์

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2497-2501)   
               คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสูญญากาศ (Vacuum tube) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์
เครื่องยังมีขนาดใหญ่มาก ใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมาก ทำให้เครื่องมีความร้อนสูงจึงมักเกิดข้อผิดพลาดง่าย
 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่ UNIVAC I , IBM 600
เครื่องคอมพิวเตอร์ Mark1
เครื่องคอมพิวเตอร์ ENIAC
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2502-2507)
               คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำ  คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กกว่ายุคแรก ต้นทุนต่ำกว่า ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า และมีความแม่นยำ
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2508-2513)    
               คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจรไอซี (Integrated Circuit)  เป็นสารกึ่งตัวนำที่สามารถบรรจุวงจรทางตรรกะไว้แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลิกอน (Silicon) เรียกว่า "ชิป"
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2514-2523)    
                คอมพิวเตอร์ ยุคนี้ใช้วงจร LSI (Large-Scale Integrated Ciruit) เป็นการรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงในแผ่นซิลิกอนชิป 1 แผ่น สามารถบรรจุได้มากกว่า 1 ล้านวงจร ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้เกิดแนวคิดในการบรรจุวงจรที่สำคัญสำหรับการทำงาน พื้นฐานของคอมพิวเตอร์นั่นคือ CPU ลงชิปตัวเดียว เรียกว่า "ไมโครโปรเชสเซอร์"
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน)  
                 คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจร VLSI (Very Large-Scale Integrated Ciruit) เป็นการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น



แผนการสอน บัญชีเบื้องต้น

โรงเรียนศรีวิราชพณิชยการเทคโนโลยี
แผนการจัดการเรียนรู้
ชื่อวิชา  การบัญชีเบื้องต้น 1                          รหัสวิชา  2201 - 0002   
จำนวน  3  หน่วยกิต                                       จำนวนคาบ   4   คาบ /สัปดาห์
ชื่อหน่วย   ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชีเวลา          4           ชั่วโมง
วันที่     24   เดือน   พฤษภาคม   พ.ศ. 2553     

1. หัวข้อเรื่องและงาน  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี

2. สาระสำคัญ

  การบัญชีมีบทบาทและมีความสำคัญในกิจการทุกประเภท  ไม่ว่าจะดำเนินการโดยวังผลกำไรหรือไม่ก็ตามเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติด้านบัญชีหรือการประยุกต์ใช้บัญชีแบบครัวเรือน ตามแนวคิดหลักเศรษฐกิจครัวเรือนตามแนวคิดหลักทางเศรษฐกิจพอเพียง  จึงควรเข้าใจความหมายของการบัญชี  ประโยชน์ของข้อมูลบัญชี ข้อแนะนำการเรียนวิชาบัญชี  รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับแม่บทการบัญชี  เพื่อประยุกต์ใช้กับงานดังกล่าวข้างต้นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3.  จุดประสงค์การเรียนรู้
       3.1 จุดประสงค์การเรียนรู้
1.  สามารถอธิบายความหมายของการบัญชีได้
                                2.  สามารถบอกจุดประสงค์ของการเรียนบัญชีได้
                                3.  สามารถบอกประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชีได้
                                4.  สามารถบอกข้อแนะนำการเรียนวิชาบัญชีได้
                                5.  สามารถอธิบายแม่บทการบัญชีได้
        3.2 จุดประสงค์นำทาง หรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
                   3.2.1 ด้านความรู้
                 1.  เข้าใจความหมายของการบัญชี
           2.  เข้าใจจุดประสงค์ของการบัญชี
           3.  เข้าใจประโยชน์ของข้อมูลบัญชี
           4.  เข้าใจข้อเสนอแนะของการเรียนวิชาบัญชี
           5.  เข้าใจแม่บทการบัญชี

                   3.2.2 ด้านคุณธรรม
                        1.  ผู้เรียนมีการพัฒนาคุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยม  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่อาจารย์สามารถสังเกตเห็นได้ในด้านความมีมนุษย์สัมพันธ์  ความมีวินัย  ความรับผิดชอบ  ความเชื่อมั่นในตนเอง  ความสนใจใฝ่รู้  ความรักสามัคคี  ความกตัญญูกตเวที

4. เนื้อหาสาระ
1.  ความหมายของการบัญชี (Accounting)
2.  จุดประสงค์ของการบัญชี
3.  ประโยชน์ของข้อมูลทางบัญชี
4.  ข้อแนะนำวิชาการบัญชี
5.  แม่บทการบัญชี

5.  กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.       ครูทักทายนักเรียน และแนะนำตนเองให้นักเรียนทราบ และนักเรียนแนะนำตนเอง

      ขั้นสอน
1.       ครูชี้แจงเนื้อหาวิชาที่จะเรียน จุดประสงค์รายวิชาและการปฏิบัติตนในขณะที่เรียน
       การวัดผลและประเมินผล คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
              2.    ครูอธิบายเนื้อหาของบทเรียนเรื่อง ความหมายของการบัญชี จุดประสงค์ของการบัญชี ประโยชน์ของข้อมูลของการบัญชี ข้อแนะนำการเรียนวิชาบัญชี และแม่บทการบัญชี

ขั้นสรุป
1.  นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับความหมายของการบัญชี จุดประสงค์ของการบัญชี ประโยชน์ของข้อมูลของการบัญชี ข้อแนะนำการเรียนวิชาบัญชี และแม่บทการบัญชี    
2. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปสาระมาตรฐานการเรียนรู้ และการวัดผลและการประเมินผล ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

6.  งานที่มอบหมายหรือกิจกรรม
     1.  สรุปเนื้อหาของหน่วยการเรียนที่  1
     2.  แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
     3.  ใบงาน หน่วยที่ 1
7.   สื่อการเรียนการสอน
                - หนังสือประกอบการเรียนวิชา การบัญชีเบื้องต้น 1  (2201 - 0002)  สำนักพิมพ์เอมพันธ์
             - ใบงาน

8.  การวัดผลและการประเมินผล
     วิธีวัดผล 
                1.  ตรวจใบงาน
                2.  สังเกตพฤติกรรมเป็นรายบุคคล
                3.  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
                4.  ตรวจแบบประเมินการเรียนรู้ หน่วยที่ 1
      5. สังเกตการณ์ประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
          
      เกณฑ์การวัดผลและประเมิน
                เครื่องมือวัด                      ใบงาน
                เกณฑ์การวัด                         คะแนนเต็ม                      10           คะแนน
                                                                ระดับดี                                   8              คะแนนขึ้นไป
                                                                ระดับปลากลาง              5 – 7         คะแนนขึ้นไป
                                                                ระดับปรับปรุงต่ำกว่า          5              คะแนน
           เกณฑ์การผ่าน                       ระดับปลานกลางขึ้นไป

9.   ความเห็นของผู้บริหาร/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย/ผู้เชี่ยวชาญ
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

                                                                ลงชื่อ...................................................................ผู้ตรวจสอบ
                                                                ตำแหน่ง.................................................................................
                                                                                วันที่      24   เดือน      พฤษภาคม   พ.ศ. 2553



10.บันทึกผลหลังการสอน
                ผลการใช้แผนการสอน.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                ผลการเรียนของนักศึกษา.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
11. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


ลงชิ่..................................................................ผู้สอน (นางสาวยุพา   กันทะวัง)
                                                  วันที่      24   เดือน      พฤษภาคม   พ.ศ. 2553